วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้


ภูมิอากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภาวะขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมากขึ้นและแม้แต่การท่องเที่ยว ล้วนสร้างความกดดันให้กับระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน


แต่ทะเลทรายซึ่งปัจจุบันกินพื้นที่ 1 ใน 4 ของผิวหน้าโลกและถูกมองว่าเป็นที่ดินไร้ค่า จะกลายเป็นแหล่งตักตวงผลประโยชน์มหาศาลในอนาคตได้ หากมีการจัดการที่ดีพอ


รายงาน "Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม


ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า



ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้ ซึ่งประเทศที่มีทะเลทรายอย่างสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่จำนวนประชากรในรัฐทะเลทรายเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มพบภาวะขาดแคลนแหล่งน้ำแล้ว
ความฝันทันสมัยของนักคิดในศตวรรษที่ 20 ที่จะสร้างสีเขียวให้ทะเลทรายด้วยการเปลี่ยนทางน้ำและการทำทางน้ำใต้ดิน จะกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน



แต่รายงานก็เสนอว่า ในศตวรรษหน้า ทะเลทรายซึ่งเป็นแหล่งรับพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขนาดยักษ์ เช่น ทะเลทรายสะฮารา แค่เพียง 496 ตารางกิโลเมตรของเนื้อที่ทั้งหมด 640,000 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับพลังงานสุริยะที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าป้อนคนทั้งโลก


ส่วนภาวะน้ำใต้ดินเค็มเกิดขึ้นแล้วในจีน อินเดีย ปากีสถานและออสเตรเลีย โดยในลุ่มแม่น้ำทาร์มของจีนสูญเสีญพื้นที่ทำนาเนื่องจากดินเค็มไปแล้วมากกว่า 8,000 ตารางกิโลเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


รายงานแนะว่า ประเทศในตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบียซึ่งใช้น้ำจากทะเลทรายอย่างไม่เหมาะสม โดยใช้น้ำไปกับการเพาะปลูกข้าวสาลีและมะเขือเทศ ซึ่งเป็นอาหาารหลักของประชาชน ควรจะใช้น้ำเฉพาะกับสิ่งที่ให้มูลค่าสูงอย่างการปลูกอินทผลัมและการทำบ่อปลาเท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่ที่คุกคามคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้ทะเลทรายคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบใหญ่หลวงต่อพื้นที่ทะเลทรายมากกว่าภูมิประเทศอื่นๆ โดยทะเลทรายดาชติ คบีร์ ในอิหร่านมีปริมาณฝนลดลง 16% ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ทะเลทรายคาลาฮารี ลดลง 12% ทะเลทรายอัตตาคามาในชิลีลดลง 8% ทะเลทรายส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 5-7 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ขณะที่ปริมาณน้ำฝนจะลดลง 10-20% ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณการระเหยและพายุทรายมากขึ้นและจะส่งผลให้ทะเลทรายเคลื่อนเข้าใกล้ชุมชนที่คนอาศัยอยู่มากขึ้นด้วย

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลูกเพนกวินแข็งตายเพราะภาวะโลกร้อน




ลูกเพนกวินแข็งตายเพราะภาวะโลกร้อน

นักสำรวจพบว่าฤดูร้อนของ Antarctica ที่ผ่านมา มีลูกเพนกวินแข็งตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในตอนกลางวันซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังไม่มีขนที่สามารถกันน้ำได้เปียกโชก เมื่อกลางคืนมาเยือน อุณหภูมิจะต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังคงเปียกอยู่แข็งตาย
และแน่นอนว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งก็เกิดจากภาวะโลกร้อน (อีกแล้ว)
เพราะฉะนั้นก็ช่วยกันลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกกันด้วยนะค่ะ
"น่าสงสารลูกนกแพนกวินที่น่ารักจังเลยนะค่ะต้องมาตายเพราะโรคร้อนฝ่มือมนุษย์แท้ๆ ช่วยๆๆกันนะค่ะ"



โลกร้อน ทะเลเป็นกรด



โลกร้อน ทะเลเป็นกรด

"สวัสดีค่ะวันนี้เรานำเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลกร้อนมานำเสนออีกแล้วนะค่ะเป็นเรื่องที่น่ากลัว เกี่ยวกับทะเลค่ะถ้าโลกของเราร้อนแล้วทะเลจะเป็นกรดจริงรึเปล่า?"

ในการประชุม European Geosciences Union (EGU) ที่จัดขึ้นในกรุงเวียนนา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการเสนอผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่มีต่อภาวะความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำทะเล
กลุ่มนักวิจัยภายใต้โครงการ European Collaborative Research (EUROCORE) ได้เสนอข้อมูลความเป็นกรดของทะเลที่เพิ่มมากขึ้น 30% นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา จาก pH 8.2 เป็น 8.1 (เป็นกรดมากขึ้น) ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณก๊าซ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมา ซึ่งความเป็นกรดระดับนี้ ไม่เคยมีมาก่อนในช่วง 35 ล้านปีที่ผ่านมา
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานความเสียหายที่เกิดจากระดับความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ตาม แต่ก็มีความกังวลว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อสาหร่ายทะเล และแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของระบบห่วงโซ่อาหารในทะเล และความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นนี้จะชลอการแข็งตัวของเปลือกของสัตว์ทะเล และปะการังต่าง ๆ ที่อยู่ตามชายฝั่งซึ่งที่สุดแล้ว ก็จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ทั้งในด้านแหล่งอาหาร และภัยธรรมชาติ
มีการคาดการณ์ว่า pH ของน้ำทะเลจะลดลงอีก 0.4 ภายในสิ้นศตวรรษนี้
คณะผู้วิจัยกล่าวว่าหนทางแก้ไขปัญหานี้ สามารถทำได้โดยลดปริมาณ CO2 ที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ



-