วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้


ภูมิอากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภาวะขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมากขึ้นและแม้แต่การท่องเที่ยว ล้วนสร้างความกดดันให้กับระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน


แต่ทะเลทรายซึ่งปัจจุบันกินพื้นที่ 1 ใน 4 ของผิวหน้าโลกและถูกมองว่าเป็นที่ดินไร้ค่า จะกลายเป็นแหล่งตักตวงผลประโยชน์มหาศาลในอนาคตได้ หากมีการจัดการที่ดีพอ


รายงาน "Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม


ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า



ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้ ซึ่งประเทศที่มีทะเลทรายอย่างสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่จำนวนประชากรในรัฐทะเลทรายเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มพบภาวะขาดแคลนแหล่งน้ำแล้ว
ความฝันทันสมัยของนักคิดในศตวรรษที่ 20 ที่จะสร้างสีเขียวให้ทะเลทรายด้วยการเปลี่ยนทางน้ำและการทำทางน้ำใต้ดิน จะกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน



แต่รายงานก็เสนอว่า ในศตวรรษหน้า ทะเลทรายซึ่งเป็นแหล่งรับพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขนาดยักษ์ เช่น ทะเลทรายสะฮารา แค่เพียง 496 ตารางกิโลเมตรของเนื้อที่ทั้งหมด 640,000 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับพลังงานสุริยะที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าป้อนคนทั้งโลก


ส่วนภาวะน้ำใต้ดินเค็มเกิดขึ้นแล้วในจีน อินเดีย ปากีสถานและออสเตรเลีย โดยในลุ่มแม่น้ำทาร์มของจีนสูญเสีญพื้นที่ทำนาเนื่องจากดินเค็มไปแล้วมากกว่า 8,000 ตารางกิโลเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


รายงานแนะว่า ประเทศในตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบียซึ่งใช้น้ำจากทะเลทรายอย่างไม่เหมาะสม โดยใช้น้ำไปกับการเพาะปลูกข้าวสาลีและมะเขือเทศ ซึ่งเป็นอาหาารหลักของประชาชน ควรจะใช้น้ำเฉพาะกับสิ่งที่ให้มูลค่าสูงอย่างการปลูกอินทผลัมและการทำบ่อปลาเท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่ที่คุกคามคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้ทะเลทรายคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบใหญ่หลวงต่อพื้นที่ทะเลทรายมากกว่าภูมิประเทศอื่นๆ โดยทะเลทรายดาชติ คบีร์ ในอิหร่านมีปริมาณฝนลดลง 16% ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ทะเลทรายคาลาฮารี ลดลง 12% ทะเลทรายอัตตาคามาในชิลีลดลง 8% ทะเลทรายส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 5-7 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ขณะที่ปริมาณน้ำฝนจะลดลง 10-20% ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณการระเหยและพายุทรายมากขึ้นและจะส่งผลให้ทะเลทรายเคลื่อนเข้าใกล้ชุมชนที่คนอาศัยอยู่มากขึ้นด้วย

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลูกเพนกวินแข็งตายเพราะภาวะโลกร้อน




ลูกเพนกวินแข็งตายเพราะภาวะโลกร้อน

นักสำรวจพบว่าฤดูร้อนของ Antarctica ที่ผ่านมา มีลูกเพนกวินแข็งตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในตอนกลางวันซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังไม่มีขนที่สามารถกันน้ำได้เปียกโชก เมื่อกลางคืนมาเยือน อุณหภูมิจะต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังคงเปียกอยู่แข็งตาย
และแน่นอนว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งก็เกิดจากภาวะโลกร้อน (อีกแล้ว)
เพราะฉะนั้นก็ช่วยกันลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกกันด้วยนะค่ะ
"น่าสงสารลูกนกแพนกวินที่น่ารักจังเลยนะค่ะต้องมาตายเพราะโรคร้อนฝ่มือมนุษย์แท้ๆ ช่วยๆๆกันนะค่ะ"



โลกร้อน ทะเลเป็นกรด



โลกร้อน ทะเลเป็นกรด

"สวัสดีค่ะวันนี้เรานำเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลกร้อนมานำเสนออีกแล้วนะค่ะเป็นเรื่องที่น่ากลัว เกี่ยวกับทะเลค่ะถ้าโลกของเราร้อนแล้วทะเลจะเป็นกรดจริงรึเปล่า?"

ในการประชุม European Geosciences Union (EGU) ที่จัดขึ้นในกรุงเวียนนา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการเสนอผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่มีต่อภาวะความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำทะเล
กลุ่มนักวิจัยภายใต้โครงการ European Collaborative Research (EUROCORE) ได้เสนอข้อมูลความเป็นกรดของทะเลที่เพิ่มมากขึ้น 30% นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา จาก pH 8.2 เป็น 8.1 (เป็นกรดมากขึ้น) ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณก๊าซ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมา ซึ่งความเป็นกรดระดับนี้ ไม่เคยมีมาก่อนในช่วง 35 ล้านปีที่ผ่านมา
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานความเสียหายที่เกิดจากระดับความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ตาม แต่ก็มีความกังวลว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อสาหร่ายทะเล และแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของระบบห่วงโซ่อาหารในทะเล และความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นนี้จะชลอการแข็งตัวของเปลือกของสัตว์ทะเล และปะการังต่าง ๆ ที่อยู่ตามชายฝั่งซึ่งที่สุดแล้ว ก็จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ทั้งในด้านแหล่งอาหาร และภัยธรรมชาติ
มีการคาดการณ์ว่า pH ของน้ำทะเลจะลดลงอีก 0.4 ภายในสิ้นศตวรรษนี้
คณะผู้วิจัยกล่าวว่าหนทางแก้ไขปัญหานี้ สามารถทำได้โดยลดปริมาณ CO2 ที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ



-

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คุณทำร้ายโลก โลกทำร้ายคุณ





สวัสดีค่ะวันนี้กลุ่มของเราได้นำเรื่องราวดีๆๆที่น่าคิดมาให้ทุกคนได้รับรู้กันอีกแล้วนะค่ะ กับหัวข้อ

"คุณทำร้ายโลก โลกทำร้ายคุณ"




โลกร้อน
“ ภาวะโลกร้อน ”
ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ที่เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ “ ภาวะโลกร้อน ” ภาวะโลกร้อนเป็นความปรวนแปรของสภาวะอากาศอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อันเป็นผลจาก
“ ภาวะเรือนกระจก ” มีคำถามกันหรือไม่ว่าภาวะเรือนกระจกเกิดขึ้นได้อย่างไร ภาวะเรือนกระจกเปรียบเทียบได้กับเราสร้างเรือนกระจกไว้กลางแจ้ง แสงแดดส่องผ่านเข้าภายในได้ แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกภายนอกได้ อุณหภูมิจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ โลกของเราก็ไม่ต่างอะไรกับเรือนกระจก
โดยปรกติในชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมโลกไว้ จะมีก๊าซหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ เมื่อรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามายังผิวโลก ก็จะถูกดูดกลืนไว้ด้วยผืนน้ำ พื้นดิน พืช และสัตว์ หลังจากนั้นก็จะคายออกมาเป็นพลังงานในรูปของรังสีคลื่นยาวอินฟาเรด ซึ่งเป็นคลื่นความร้อนกลับขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และบางส่วนก็ถูกกักเก็บไว้โดยก๊าซในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก โลกเราจึงมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในหลายพันปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้น
ห้วงขณะปัจจุบันชั้นบรรยากาศโลกถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจกซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 53 % ก๊าซมีเทน 17% ก๊าซโอโซนระดับผิวโลก 13 % ก๊าซซีเอฟซี 5 % ก๊าซไนตรัสออกไซด์ 12 % ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติดูดกลืน เก็บกักรังสีอินฟาเรดได้ดี ทำให้สะท้อนออกนอกโลกไม่ได้จึงถูกสะสมในชั้นบรรยากาศ โลกเราจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้ว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือตัวการหลักที่ทำให้โลกร้อน


ลองมาดูกันต่อไปสิค่ะว่าว่าโลกเรามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างมากมายได้อย่างไร


- โรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลก เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการใช้เชื้อเพลิงและการใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซนี้ถึง 40 %

- อาคาร สำนักงาน ศูนย์การค้า บ้านพักอาศัย ประมาณ 31 % หมายรวมถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกทุกชนิดล้วนเป็นสาเหตุในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

- การขนส่ง ประมาณ 22 % ทุกวันนี้มนุษย์มีการเดินทางด้วยพาหนะในด้านต่าง ทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ การเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น

- เกษตรกรรม ผลจากการเผาป่าเพื่อการเกษตรกรรม การใช้เชื้อเพลิงเพื่อการเกษตร ทำให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นี้ถึง 4 %

ประเทศที่ติดอันดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศไทย คิดเฉพาะในกรุงเทพฯปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศปีละ 172 ล้านตัน หรือคนละ 2.8 ตันต่อปี ซึ่งสูงกว่าประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์เสียอีก

"ช่างเป็นที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งว่าทำไมโลกของเราถึงมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากมายอย่างนี้ ดั้งนั้นกลุ่มของพวกเราก็ขอให้ทุกๆๆคนช่วยกันลดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กันหน่อยนะค่ะโลกเราจะได้สวยงามดังเดิม"

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

"น้ำแข็งขั้วโลก"






นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพร้อมใจร่วมมือ ศึกษาปัญหาโลกร้อน





"เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากเลยนะค่ะสำหรับปัญหาโลกร้อนทั้งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างช่วยกันแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำแข็งขั้วโลกเข้าเกี่ยวอีก...ถ้าน้ำแข็งละลายพวกเราจะอยู่ได้อย่างไรน้ำก็คงจะท่วมโลก กลุ่มของเราจึงมีเรื่องที่น่าวิตกเกี่ยวกับปัญหาน้ำแข็งทั่วโลกมานำเสนอค่ะขอให้ผู้ที่เข้ามาชมได้รับความรู้จากบล็อกของเรามากๆนะค่ะ"







นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพร้อมใจร่วมมือ ศึกษาปัญหาโลกร้อน และการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ภายใต้โครงการปีขั้วโลกสากล



มีการประเมินว่าหากน้ำแข็งขั้วโลกทั้งในแถบอาร์คติก และแอนตาร์คติก ละลาย ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 77 เมตร ปัญหาการละลายของน้ำแข็งจึงเป็นปัญหาระดับโลก นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกซึ่งคาดว่ามีจำนวนกว่า 50,000 คนจาก 63 ชาติจะร่วมกันศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อน ภายใต้โครงการปีขั้วโลกสากล ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนหน้าถึง วันที่ 9 มีนาคม ปี 2552
นักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดจะหารือแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมศึกษาผลการวิจัยกว่า 200 ชิ้น เกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแถบขั้วโลกอย่างละเอียด ซึ่งจะทำให้มองภาพรวมของวิกฤติโลกร้อนได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ในโครงการยังจะมีการศึกษาชีวิตทั้งวัฒนธรรม และการเมือง ของประชากรที่อาศัยอยู่เขตอาร์คติกกว่า 4 ล้านคนด้วย
ขณะนี้การละลายของน้ำแข็งในเขตขั้วโลกมีอัตราเร่งเร็วกว่าที่ผ่านๆ มา ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร นักวิทยาศาสตร์คาดว่าในศตวรรษนี้อุณหภูมิโลกจะร้อนขึ้นประมาณ 1.8 ถึง 4 องศาเซลเซียส ปัญหาหลักๆ มาจากก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์และ จากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง

















5 วิธีกู้วิกฤติโลกร้อนได้มโหฬาร


"สวัสดีค่ะวันนี้เราจะมานำเสนอ 5 วิธีกู้วิกฤติโลกร้อนได้มโหฬาร เป็นวิธีที่จะช่วยหยุดโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่งถ้าพวกเราช่วยกันคนละไม้คนละมือดิฉันคิดว่าโลกของเราจะกลับมาร่มเย็นไม่มีมลภาวะแย่อย่างนี้อีกแน่ลองอ่านดูนะค่ะน่าจะช่วยหยุดโลกร้อนได้ "



โลกร้อนกระแสสุดอินเทรน์ที่ใครก็พูดถึง แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่าระหว่างการขับรถกับการกินเบอร์เกอร์บิ๊กแมค อะไรก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่ากัน!!?
คำตอบก็คือ “บิ๊กแมค” เพราะจากรายงานของนิตยสารไทม์ ระบุว่าอุตสาหกรรมผลิตเนื้อทั่วโลกก่อให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซกรีนเฮาส์ในชั้นบรรยากาศมากถึง 18%

1. ปิดคอมพ์หรือหน้าจอตอนพักกลางวัน (หรือไม่ได้ใช้) เพราะการเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ ไม่เพียงแต่จะเปลืองไฟ แต่ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การปิดคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ โดยใช้ปุ่มสแตนด์บาย พาวเวอร์ กินไฟในบ้านแบบไม่รู้ตัวถึง 75% การกดปุ่มปิดหรือ Off เท่านั้นที่ไม่กินพลังงาน
2. ปิดไฟทุกครั้งที่เสร็จงาน ออฟฟิศในเมืองใหญ่ๆ ของต่างประเทศ เขาได้ขอความร่วมมือจากพนักงานให้ปิดไฟทุกครั้งที่ทำงานเสร็จ เพื่อนๆ อาจรู้สึกว่าออฟฟิศจะดูมืดๆทึมๆ ไปหรือเปล่า อันนี้คงต้องบอกว่าเราทำเพื่อประหยัดพลังงาน คิดเสียว่าโรแมนติกดีก็แล้วกัน
3. ไม่เอาอะไรมาวางแกะกะใกล้เครื่อง เชื่อหรือไม่ว่า 16% ของพลังงานที่ใช้ภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นตัวการก่อให้เกิดความร้อน ลองหาเวลาว่างจัดบ้านหรือทำงานให้สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ และทิศทางลม แทนที่จะพึ่งแอร์หรือเทคโนโลยีไฮเทคตลอดเวลา แถมยังช่วยเซฟพลังงานได้ถึง 40%
4. จ่ายบิลค่าใช้จ่ายทางเน็ต นับเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทนสมัยแถมประหยัดพลังงาน เพราะไม่ต้องเดินทางให้เปลืองน้ำมัน ลดการใช้กระดาษ (เพราะการผลิตกระดาษต้องตัดไม้ ทำลายป่า) นอกจากนั้นยังยังช่วยลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากการขนส่งกระดาษทั้งทางเครื่องบิน และรถบรรทุก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือช่วยลดปริมาณขยะลงถึงปีละ 1,450 ล้านตัน และจำกัดการแพร่กระจายของก๊าซกรีนเฮาส์อีกปีละ 1.9 ล้านตัน
5. ลดการใช้ถุงพลาสติก ทุกปีมีถุงพลาสติกถูกผลิตออกสู่ตลาดมากกว่า 50,000 ล้านถุง และมีเพียง 3% ของถุงพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ถุงพลาสติกแต่ละใบต้องใช้เวลาถึงพันปีกว่าจะย่อยสลายหมดไปจากโลก!!
10 ปรากฎการณ์ประหลาด ผลกระทบวิกฤต "โลกร้อน!"





ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัย "โลกร้อน" ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ อากาศร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังเป็นต้นเหตุของปรากฎการณ์แปลกๆ มากมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการหายสาบสูญของทะเลสาบ โรคภูมิแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ วิถีโคจรของดาวเทียมในอวกาศ ฯลฯ!
สารภูมิแพ้แพร่ระบาด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดขึ้นทุกๆ ช่วงฤดูใบไม้ผลินั่นคือ ประชาชนไอ จาม ป็นภูมิแพ้ และหอบหืดกันง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปกับสภาพมลพิษในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการดังกล่าวอย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นและมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมากขึ้น คือต้นเหตุทำให้พืชพรรณต่างๆ ผลิใบเร็วกว่าเดิม ขณะเดียวกันปริมาณละอองเกสรที่ฟุ้งกระจายไปตามอากาศก็มากขึ้นเช่นกัน คนที่เป็นภูมิแพ้หรือหอบหืดเมื่อสูดละอองเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาการจึงกำเริบง่าย
สัตว์อพยพไร้ที่อยู่
ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ทำให้สัตว์บางชนิด เช่น กระรอก ตัวชิปมังก์ หรือแม้กระทั่งหนู ต้องอพยพหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงขึ้นสัตว์ที่กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ได้แก่ "หมีขั้วโลก" ที่ในอนาคตอาจมีชีวิตอยู่ในถิ่นฐานเดิมแถบอาร์กติก ขั้วโลกเหนือไม่ได้ เนื่องจากธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว
"พืช"ขั้วโลกคืนชีพ

ช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ผลจากภาวะน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อน ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพืชและสัตว์จำนวนมาก ตามปกติ พืชแถบอาร์กติกจะถูกปกคลุมอยู่ในน้ำแข็งตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบัน เมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะในช่วงก่อนฤดูใบไม้ผลิต จึงทำให้พืชที่เคยถูกห่อหุ้มด้วยน้ำแข็งกลายเป็นอิสระ สามารถเริ่มกระบวนการสังเคราะห์แสงและกลับมาเติบโตขึ้นอีกครั้ง
กลายเป็นอีก 1 ปรากฎการณ์ใหม่ของพื้นที่ขั้วโลกเหนือ

ทะเลสาบหายสาบสูญ

เรื่องประหลาดๆ ที่เกิดขึ้นในเขตอาร์กติก หรือ ขั้วโลกเหนือยังไม่หมดแค่นั้นมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา "ทะเลสาบ" ประมาณ 125 แห่งได้หายสาบสูญไปจากเขตอาร์กติก เป็นสัญญาณหนึ่งที่ช่วยให้เห็นว่า ภัยโลกร้อนส่งผลกระทบเร็วมากต่อสภาพแวดล้อมแถบขั้วโลก
สาเหตุที่ทะเลสาบหายไปก็เพราะ "เพอร์มาฟรอส" ที่เป็นน้ำแข็งแข็งตัวอยู่ใต้พื้นทะเลสาบนั้นละลายหมดสิ้นไป ดังนั้น น้ำในทะเลสาบจึงซึมเข้าสู่พื้นดินข้างใต้ได้ เหมือนกับเวลาเราดึงจุกปิดน้ำออกจากอ่างอาบน้ำแล้วน้ำจึงไหลหมดไปจากอ่างนั่นเอง
นอกจากนี้ การที่ทะเลสาบขั้วโลกหายวับไป ยังส่งผลลูกโซ่ปั่นป่วนไปถึงระบบนิเวศในพื้นที่ที่พึ่งพิงน้ำจากทะเลสาบอีกด้วย
น้ำแข็งใต้พื้นโลกละลาย

ภาวะโลกร้อนไม่ได้เพียงแค่ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างต่อเนื่องเท่านั้น
แต่ยังส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งถาวรที่มีอยู่ใต้พื้นผิวโลกค่อยๆ ละลายลดปริมาณลงไปเช่นกัน
ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคตก็คือ จุดใต้พื้นโลก ซึ่งเคยเป็นน้ำแข็งหายไปจนเกิดเป็น "รูรั่ว" ใต้ดินขึ้นมา
เมื่อเป็นเช่นนี้สภาพทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ย่อมเปลี่ยนไป
สิ่งปลูกสร้าง หรือ สิ่งก่อสร้างของมนุษย์ เช่น ทางรถไฟ ถนน บ้านเรือน ฯลฯ ซึ่งตั้งอยู่เหนือจุดดังกล่าวมีโอกาสได้รับความเสียหายตามไปด้วย
ถ้าปรากฎการณ์น้ำแข็งละลายเกิดขึ้นบนที่สูง เช่น ภูเขา จะก่อให้เกิดภัยธรรมชาติตามมา อาทิ หินถล่มและโคลนถล่ม เป็นต้น
ชนวนเกิดไฟป่า
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันทั่วโลก ว่า ภัยโลกร้อนเป็นสาเหตุให้ธารน้ำแข็งละลายและพายุก่อตัวบ่อยและรุนแรงขึ้นกว่าในอดีต
ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะโลกร้อนยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด "ไฟป่า" ได้ง่ายขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
และชาติเมืองหนาวในซีกโลกตะวันตก ซึ่งตามปกติไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไฟป่า ก็เริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้กันแล้ว
เหตุเพราะสภาพป่าแห้งกว่าเดิม จึงเป็นเชื้อไฟอย่างดี

ผู้แข็งแกร่งเท่านั้นถึงอยู่รอด

โลกร้อนส่งผลให้หน้าหนาวหดสั้นลง และหน้าร้อนมาถึงเร็วขึ้น
บรรดา "นกอพยพ" หลายสายพันธุ์ต่างมึนงง ปรับ "นาฬิกาชีวภาพ" ในตัวของมันให้เข้ากับสภาพความผันแปรของฤดูกาลที่บิดเบี้ยวไปไม่ทัน
สัตว์ที่จะเอาชีวิตรอดจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนในทุกวันนี้ได้ต้องเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้น
ในที่สุดสัตว์ที่อยู่รอดจะต้อง "กลายพันธุ์" หรือปรับพันธุกรรมในตัวมันเสียใหม่ เพื่อรับมือภัยโลกร้อนให้ได้ และมีสัตว์หลายชนิดกำลังวิวัฒนาการตัวเองเช่นนั้นอยู่


ดาวเทียมโคจรเร็วกว่าเดิม

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน ยวดยานพาหนะ ฯลฯ คือ ตัวการสำคัญของวิกฤตโลกร้อน
ล่าสุดพบว่า เจ้าก๊าซตัวเดียวกันนี้เองที่ขึ้นไปสะสมมากขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก ได้กลายเป็นต้นเหตุทำให้ "ดาวเทียม" ที่อยู่ในวงโคจรโลกเคลื่อนที่เร็วกว่าเดิม
ตามปกติ อากาศในบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลกจะเบาบาง แต่โมเลกุลของอากาศจะยังคงมีแรงดึงดูดมากพอในการทำให้ดาวเทียมโคจรช้าๆ ดังนั้น เราอาจเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างว่า ผู้ควบคุมต้องจึดระเบิดดาวเทียมเป็นระยะๆ เพื่อให้ดาวเทียมโคจรต่อไปอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ลอยไปสะสมในบรรยากาศชั้นล่างมากไป จะทำแรงดึงดูดของบรรยากาศชั้นนอกสุดลดกำลังลง ดาวเทียมจึงโคจรเร็วกว่าปกติ
ภูเขากระเด้งตัวเหนือพื้นโลก

ภูเขาและเทือกเขาสูงหลายแห่งทั่วโลกกำลังขยายตัว "สูง" ขึ้น เพราะผลจากโลกร้อน!
นั่นเป็นเพราะ ตามธรรมชาติที่ผ่านๆ มานับพันปี ยอดภูเขาในเขตหนาวเย็นโดยทั่วไปจะมี "น้ำแข็ง" ปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตุ้มน้ำหนักที่คอยกดทับให้ฐานล่างของภูเขาทรุดต่ำลงไปใต้พื้นผิว
เมื่อน้ำแข็งบนยอดเขามลายสูญสิ้นไป ส่วนฐานล่างที่เคยถูกกดจมดินลงไปจะค่อยๆ กระเด้งคืนตัวกลับมาเหนือผิวโลกอีกครั้ง


โบราณสถานเสียหาย

โบราณสถาน เมืองเก่าแก่ ซากปรักหักพังทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ อันเป็นสิ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันรุ่งเรื่องของมนุษย์ในอดีตได้รับผลกระทบจากโลกร้อน เหตุเพราะโลกร้อนทำให้อากาศทั่วโลกแปรปรวน ทั้งเกิดพายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และล้วนแต่ยิ่งสร้างความเสียหายให้กับมรดกตกทอดทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมอยู่แล้ว
โบราณสถานอายุ 600 ปีในจังหวัดสุโขทัยของประเทศไทยเรา ก็เคยเสียหายอย่างหนักเพราะภัยน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งเป็นผลจากภัยโลกร้อน มาแล้วเช่นกัน


"เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการร์ที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งค่ะเพราะปรากฎการณ์โลกร้อนแท้ๆเลยนะค่ะที่ทำให้โลกของเราเป็นแบบนี้น่ากลัวพวกเราต้องช่วยโลกของเรากันแล้วแหละค่ะ"



" 10 วิธีแก้ภาวะโลกร้อน ปัญหาใหญ่ของสังคมทุนนิยม "

ทุกวันนี้ คงสามารถรู้สึกได้กันทุกคนถึง ภาวะโลกร้อน ซึงปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวัน ถ้าเราสังเกตุจากข่าวประจำวัน จะทราบถึงความผิดปกติของโลกเราน้ำท่วม โคลนถล่ม แผ่นดินไหว อากาศร้อนผิดปกติ ที่อินเดียปัจจุบันอุณหภูมิสูงถึง50 องศาเซลเซียส เกิดจากผลผลิตทางอุตสาหกรรมซึ่งเกิดขึ้นทุกวัน ความร้อนต่างๆและ สารเคมีที่ลอยสู่อากาศปกคลุมโลกขอเสนอ 10 วิธีเพื่อลดภาวะโลกร้อน

1. ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดลม หากเป็นไปได้ ใช้วิธี เปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดีๆ สามารถทำได้ เช่นหลังฝนตก หรือช่วงอากาศเย็น เป็นการลดค่าไฟ และ ลดความร้อน เนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์ จะเกิดปริมาณความร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
2. เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมลล์ เนื่องจากพาหนะ แต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งจะเกิดความร้อน และ ก็ซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อลดปริมาณจำนวนรถ ก็จะลดจำนวนการเผาไหม้บนท้องถนน ในแต่ละวันลงได้
3. เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีใครเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจากห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้น มีพื้นที่มาก กว่าจะทำให้เกิดความเย็นได้ ก็จะก่อให้เกิดความร้อนปริมาณมาก ดังนั้นเมื่อมีคนเปิดประตูทิ้งไว้ แอร์ก็จะยิ่งทำงานมากขึ้น เพื่อให้ได้ความเย็นตามที่ระบุไว้ในเครื่อง ซึ่งประตูที่เปิดอยู่จะนำความร้อนมาสู่ตัวห้างเครื่องก็จะทำงานวนอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนอีกปริมาณมากต่อสภาพภายนอก
4. พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
5. ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และ ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรีอนกระจก
6. การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
7. เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่นขวดน้ำ พยายามนำกลับมาใช้อีก เนื่องจากพลาสติกเหล่านี้ทำการย่อยสลายยาก ต้องใช้ปริมาณ ความร้อนเหมือนกับตอนที่ผลิตมันมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกของเรา เราสามารถนำกลับมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำแทนกระติกน้ำได้ หรือใช้ปลูกต้นไม้ก็ได้
8. ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ อุจจาระจะปล่อยก๊าซมีเทนอออกมา ดังนี้นอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้ เมื่อมีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกเรามาก
9. ใช้กระดาษด้วยความประหยัด กระดาษแต่ละแผ่น ทำมาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งเป็น เสมือนปราการสำคัญของโลกเรา ดังน้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัดทั้งด้านหน้าหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือ นำมาเช็ดกระจกก็ได้ นอกจากนี้การนำกระดาษไปเผาก็จะเกิดความร้อนต่อโลกเราเช่นกัน
10. ไม่สนับสนุนกิจการใดๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกเรา และควรสนับสนุนกิจการที่มีการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม

กลุ่มของพวกเราก็ขอฝากวิธีการแก้ไขปัญหาโลกร้อนทั้ง 10 วิธีนี้ไว้ด้วยนะค่ะ ถ้าหากว่าเราปฎิบัติตามได้โลกของพวกเราก็จะดีขึ้นค่ะ

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน งานวิจัยเนื้อหากว่า 1,000 หน้าจากนักวิทยาศาสตร์กว่า 700 คน ว่ากรณีภาวะโลกร้อนจะ แตกต่างกันในแต่ละประเทศแต่ละส่วนของโลก 1. ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุก ทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
ส่วนทวีปยุโรป ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้ง ในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด
ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปร ปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัดไม่ว่าจะเป็นใต้ฝุ่นกก
แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น พร้อม ๆ กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะล้มตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์ นักวิจัยได้มีการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 ว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก
สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง
2. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล
นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท รายงาน " Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทราย จะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้
3. ผลกระทบด้านสุขภาพ ภาวะโลกร้อนไม่เพียง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม รากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เดวิท พิเมนเทล นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์ แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง
จะป้องกันได้อย่างไร
ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้1. ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้น เป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้ เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูก ในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้2. ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรม ที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก โดยพึง ระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่า ไฟฟ้า แต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่
3. ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิด เช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้ งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่ หรือลด จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่ง ผลมหาศาลต่อโลก
4. นำกระดาษหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ กลับไปใช้ใหม่ พยายามซื้อสิ่งของที่มีอายุ การใช้งานนานๆ จะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกอย่างมากมาย
5. รักษาป่าไม้ให้ได้มากที่สุด และลดหรืองดการจัดซื้อสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์ ต่างๆ ที่ทำจากไม้ที่ตัดเอามาจากป่า เพื่อปล่อยให้ต้นไม้และป่าไม้เหล่านี้ได้ทำหน้าที่การ เป็นปอดของโลกสืบไป

6. ลดการใช้น้ำมัน จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถเช่น ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสม และค่อยๆ เหยียบคันเร่ง รถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว และ
7. ทดลองเดินให้มากที่สุด

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโลกร้อน


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 6 ชนิด ที่จะต้องลดการปล่อยได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ก๊าซมีเทน ( CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ( N2O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโลกมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการปล่อยก๊าซชนิดนี้ออกมาในบรรยากาศไม่น้อยหน้าประเทศอื่น โดยมีที่มาจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า !! ??ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ( co2) มาจากมนุษย์ประเทศไหนมากที่สุด จากตัวเลขที่ได้สำรวจล่าสุดนั้นเรียงตามลำดับประเทศที่ปล่อยควันพิษของโลกมีปริมาณสะสมมาตั้งแต่ปี 1950 ดังนี้ :-
1. สหรัฐอเมริกา 186,100 ล้านตัน 2. สหภาพยุโรป 127,800 ล้านตัน 3. รัสเซีย 68,400 ล้านตัน 4. จีน 57,600 ล้านตัน 5. ญี่ปุ่น 31,200 ล้านตัน 6. ยูเครน 21,700 ล้านตัน 7. อินเดีย 15,500 ล้านตัน 8. แคนาดา 14,900 ล้านตัน 9. โปแลนด์ 14,400 ล้านตัน 10. คาซัคสถาน 10,100 ล้านตัน 11. แอฟริกาใต้ 8,500 ล้านตัน 12. เม็กซิโก 7,800 ล้านตัน 13. ออสเตรเลีย 7,600 ล้านตัน
รวมถึงการปล่อยสารซีเอฟซีที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่อง ทำความเย็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นตู้เย็น เครื่องปรับอากาศทั้งบ้านและรถยนต์ ในต่างประเทศเองส่วนใหญ่เลิกใช้สารซีเอฟซีกันหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังใช้อยู่ในปริมาณร้อยละ 1 ของสารซีเอฟซีที่ใช้ทั่ว โลก ทราบว่าปีหน้าไทยเองจะยกเลิกเช่นกัน
สารซีเอฟซีนั้นประมาณร้อยละ 33 ของปริมาณทั้งหมด ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นเพื่อใช้ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น และเครื่องปรับอากาศทั้งในอาคารและในรถยนต์ ร้อยละ 25 ใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และร้อยละ 42 ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ มองแค่ ตู้เย็นผลิตประมาณปีละ 1.3 ล้านเครื่อง ใช้สารซีเอฟซีประมาณ 260 ตันต่อปี
ยังมีอุตสาหกรรมที่ใช้สารไฮ-โดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เอชซีเอฟ และไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนหรือ เอชเอฟซี สามารถทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้เช่นกัน เอชซีเอฟ ทำลายโอโซนได้นาน 5 ปี ส่วนซีเอฟซี ทำลายโอโซนได้นานถึง 25 ปี ส่วนเอชเอฟซี ไม่ทำลายชั้นของโอโซนเพียงแต่ปิดกั้นพลังงานความร้อนเท่านั้น
ประการต่อมาสารคาร์บอนไดออกไซด์ มีการพบว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณครึ่งหนึ่ง เกิดจากการตัดไม้ ทำลายป่าบนพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ ตรงนี้น่าจะรับฟังได้ เพราะป่าไม้ของไทยถูกทำลายปีละ 1 ล้านไร่ จนจะหมดอยู่แล้ว ผลที่เกิดก็คือเนื่อง จากต้นไม้จะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ตอนมีการสังเคราะห์แสงในเวลากลางวัน และปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในเวลากลางคืน
แต่ที่แนวโน้มน่ากลัวกว่าเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมและท่อไอเสียจากรถยนต์ เพราะการพัฒนาประเทศนั้นมีแต่เพิ่มมากขึ้น ในการขับขี่ยานพาหนะ ขณะนี้ประเมินว่ามี 1.88 ล้านคันทั่วประเทศ จะมีก๊าซออกมา 10 กิโลกรัม ต่อเชื้อเพลิง 4 ลิตร หากมีการขับขี่ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง 4 ลิตรต่อคัน ก็จะปล่อยคาร์บอนไดออก ไซด์ออกมา 18,800 ตัน สำหรับในการผลิต กระแสไฟฟ้าขนาด 100 วัตต์ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ต้องใช้ถ่านหินหนัก ครึ่งกิโลกรัม ซึ่งจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือ 1.4 กิโลกรัม อีกทั้งการเผาไหม้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงยังปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศและ เป็นหมอกควันที่ป้องกันแสงอาทิตย์ทั้งยังปิดบังเรือนกระจก ซึ่งจะทำให้บรรยากาศเกิดการเย็นลงได้

ไนตรัสออกไซด์ไนตรัสออกไซด์จะดูดความร้อน ไว้ได้นับร้อยๆ ปี เพราะโมเลกุลของก๊าซนี้สามารถดูดความร้อนไว้ได้นาน กว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 100 เท่า แต่ไนตรัสออกไซด์ ทำลายโมเลกุลของโอโซนได้น้อยกว่าซีเอฟซีร้อยละ 25 ซึ่งไนตรสออกไซค์พบได้มากที่ปุ๋ยเคมี และถ่านหิน
ก๊าซมีเทน สาเหตุหลักมาจาก การตัดไม้และการเผาป่า นอกจากนี้การทำนาข้าว การเลี้ยงวัวควาย การถมขยะ การทำเหมืองแร่ และการผลิตถ่านหิน อย่างการปลูกข้าว เกิดก๊าซมีเทน เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในดินเป็นตัวปล่อยมีเทน การเลี้ยงวัวควายก่อให้เกิดมี-เทน เนื่องจากแบคทีเรียใน กระเพาะอาหารของสัตว์กินหญ้าประเภทวัว ควาย แพะ แกะ อูฐ จะย่อยอาหารและปล่อยมีเทนออกมาด้วย
มีการศึกษาพบในแต่ละวันวัว 1 ตัว เรอมีเทนออกมาถึง 0.5 ปอนด์ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาไทยมีวัว ควายประมาณ 11 ล้านตัว แต่ละตัว จะเรอนาทีละหลายครั้ง หากวัวควายเรอเพียงนาทีละครั้ง จะมีปริมาณ ก๊าซมีเทนออกมา 5.5 ล้านปอนด์ มีเทนที่เก็บพลังงานความร้อนเอาไว้ ขณะนี้จะเก็บความร้อนไว้ได้นานกว่า 10 ปี และเก็บความร้อน ไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนสามารถ เก็บพลังงานความร้อนเอา ไว้ขณะนี้ไปจนถึงระยะเวลานาน 10 ปี และเก็บความร้อนไว้นานกว่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า

ตัวทำลายโอโซนดังกล่าวนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกอย่างมาก นอกจากอากาศบนโลกจะร้อนขึ้นและสุขภาพอนามัย โรคภัยไข้เจ็บ จะตามมาอีกมาก การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองเพื่อมีชีวิตรอด ก็ต้องแสวงหากันอีก นอกจากนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพืชและสัตว์ก็มากด้วย ระบบชีวิตของมันต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง ถึงขั้นสูญพันธุ์ไปเลยก็เป็นได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาจากขั้วโลกกำลังละลายลงมา สู่ทวีปยุโรป และดินแดนที่มนุษย์ อาศัยอยู่ วิเคราะห์กันว่าบริเวณของโลกที่อยู่ในระดับต่ำมากๆ อาจจะ สูญหายไปจากแผนที่โลกเพราะน้ำท่วมหมดสิ้น

หากว่ากันแล้วมนุษย์นี่เองที่เป็นตัวทำลายโอโซน แต่จะบอกว่าใคร ปล่อยมากปล่อยน้อย ไม่ใช่สาระสำคัญ แต่ประเด็นอยู่ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลบ้านของตัวเองว่า จุดไหนที่ปล่อยสารพิษทำลายโอโซนต้องช่วยกันทำให้ลดลง เพื่อจะได้อยู่ในโลกนี้ได้ยาวนาน

แต่สำหรับพวกเราแล้ว สิ่งที่น่าจะทำกันได้ อย่างเช่น การลดการใช้ สารซีเอฟซีที่มีอยู่ในตู้เย็น ตู้แช่เย็น เครื่องปรับอากาศคือ การใช้แปรงทาสีแทนที่จะใช้กระป๋องฉีดสเปรย์ ใช้เครื่องปรับอากาศ เท่าที่จำเป็นแล้วหันมาใช้พัดลม เปิดหน้าต่างและสวม เสื้อผ้าบางๆ นอกจากนี้เครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช้แล้ว ก็จะต้องมีวิธีการทำลายที่ดี เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารซีเอฟซี สู่ชั้นบรรยากาศ

สำหรับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์ ทำได้โดยใช้รถรวมกันเมื่อเดินทางไปในที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกันครั้งละหลายๆ คนหรือที่รัฐบาลโดยสพช. กำลังรณรงค์กันอยู่ ขณะนี้คือ CAR POOL การขับขี่ยานพาหนะที่ประหยัด น้ำมันเชื้อเพลิง การสัญจรโดยการเดิน หรือเดินทางโดยรถจักรยาน หรือโดยสารรถประจำทาง

การเพิ่มปริมาณขยะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เนื่องจากการทับถมของขยะมากขึ้น ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ถูกกำจัด โดยธรรมชาติน้อยลง การใช้เครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงาน ทำบ้านให้ปลอดโปร่ง ใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และลม ทำให้ไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา การใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหิน และน้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงาน และการผลิตกระแสไฟฟ้าทำให้ปล่อยคาร์บอน-ไดออกไซด์ออกมาน้อยลง

นอกจากนี้ การป้องกันการปล่อยมีเทนออกสู่บรรยากาศทำได้โดย ลดปริมาณขยะและนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และลดการเผาต้นไม้ในป่า และตามทุ่ง นอกจากนี้ยังควรพยายามที่จะนำมีเทนที่ เกิดจากการถมขยะ และการทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนเป็นก๊าซที่เก็บความร้อนบนโลก ยิ่งมีก๊าซมากก็จะเก็บความร้อนไว้มาก

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

โลกร้อน คืออะไร?

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด
มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ







แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2ที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใด ๆ ที่เผาเชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่นถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เป็นตัวการกักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ไม่ให้คายออกไปสู่บรรยากาศซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้โลกของเรามีอุนหภูมิอบอุ่น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้





แต่ปัจจุบันการเผาผลาญเชื้อเพลงฟอสซิลต่างๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง และการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งการกระทำเหล่านี้ส่งผลให้ปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล อันส่งผลกระทบต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภัยธรรมชาติต่างๆเกิดบ่อยขึ้น และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นครับ
• จำนวนพายุ Hurricane Category 4 และ 5 เพิ่มขึ้นสองเท่า ในสามสิบปีที่ผ่านมา • เชื้อมาลาเรียได้แพร่กระจายไปในที่สูงขึ้น แม้แต่ใน Columbian, Andes ที่สูง 7000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล • น้ำแข็ง ใน ธารน้ำแข็ง เขตกรีนแลนด์ ละลายเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา • สัตว์ต่างๆ อย่างน้อย 279 สปีชี่ส์กำลังตอบสนองต่อ ภาวะโลกร้อน โดยพยายามย้ายถิ่นที่อยู่

หากเรายังเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น รับรองได้เลยว่าจะเกิดเรื่องอย่างนี้แน่

• อัตรา ผู้เสียชีวิต จาก โลกร้อน จะพุ่งไปอยู่ที่ 300000 คนต่อปี ใน 25 ปีต่อจากนี้

• ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 20 ฟุต

• คลื่นความร้อน จะมาบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น

• ภาวะฝนแล้ง และไฟป่าจะเกิดบ่อยขึ้น

• มหาสมุทรอาร์กติกจะไม่เหลือน้ำแข็ง ภายในฤดูร้อน 2050

• สิ่งมีชีวิตกว่าล้านสปีชี่ส์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์















วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Welcome to our Blog

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็ปบล็อกของกลุ่มเรานะคะ วันนี้ก็เป็นวันแรกที่กลุ่มของเราเริ่มต้นการทำบล็อก เหตุผลที่เราสร้างบล็อกนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้เพื่อนๆทุกคนได้รับรู้ถึงสถานการณ์ของโลกเราในตอนนี้ว่าโลกของเรากำลังเผชิญกับปัญหาสภาวะโลกร้อน ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบแก่ทุกคนและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก