วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้


ภูมิอากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภาวะขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมากขึ้นและแม้แต่การท่องเที่ยว ล้วนสร้างความกดดันให้กับระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน


แต่ทะเลทรายซึ่งปัจจุบันกินพื้นที่ 1 ใน 4 ของผิวหน้าโลกและถูกมองว่าเป็นที่ดินไร้ค่า จะกลายเป็นแหล่งตักตวงผลประโยชน์มหาศาลในอนาคตได้ หากมีการจัดการที่ดีพอ


รายงาน "Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม


ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า



ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้ ซึ่งประเทศที่มีทะเลทรายอย่างสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่จำนวนประชากรในรัฐทะเลทรายเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มพบภาวะขาดแคลนแหล่งน้ำแล้ว
ความฝันทันสมัยของนักคิดในศตวรรษที่ 20 ที่จะสร้างสีเขียวให้ทะเลทรายด้วยการเปลี่ยนทางน้ำและการทำทางน้ำใต้ดิน จะกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน



แต่รายงานก็เสนอว่า ในศตวรรษหน้า ทะเลทรายซึ่งเป็นแหล่งรับพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขนาดยักษ์ เช่น ทะเลทรายสะฮารา แค่เพียง 496 ตารางกิโลเมตรของเนื้อที่ทั้งหมด 640,000 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับพลังงานสุริยะที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าป้อนคนทั้งโลก


ส่วนภาวะน้ำใต้ดินเค็มเกิดขึ้นแล้วในจีน อินเดีย ปากีสถานและออสเตรเลีย โดยในลุ่มแม่น้ำทาร์มของจีนสูญเสีญพื้นที่ทำนาเนื่องจากดินเค็มไปแล้วมากกว่า 8,000 ตารางกิโลเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


รายงานแนะว่า ประเทศในตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบียซึ่งใช้น้ำจากทะเลทรายอย่างไม่เหมาะสม โดยใช้น้ำไปกับการเพาะปลูกข้าวสาลีและมะเขือเทศ ซึ่งเป็นอาหาารหลักของประชาชน ควรจะใช้น้ำเฉพาะกับสิ่งที่ให้มูลค่าสูงอย่างการปลูกอินทผลัมและการทำบ่อปลาเท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่ที่คุกคามคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้ทะเลทรายคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบใหญ่หลวงต่อพื้นที่ทะเลทรายมากกว่าภูมิประเทศอื่นๆ โดยทะเลทรายดาชติ คบีร์ ในอิหร่านมีปริมาณฝนลดลง 16% ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ทะเลทรายคาลาฮารี ลดลง 12% ทะเลทรายอัตตาคามาในชิลีลดลง 8% ทะเลทรายส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 5-7 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ขณะที่ปริมาณน้ำฝนจะลดลง 10-20% ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณการระเหยและพายุทรายมากขึ้นและจะส่งผลให้ทะเลทรายเคลื่อนเข้าใกล้ชุมชนที่คนอาศัยอยู่มากขึ้นด้วย

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลูกเพนกวินแข็งตายเพราะภาวะโลกร้อน




ลูกเพนกวินแข็งตายเพราะภาวะโลกร้อน

นักสำรวจพบว่าฤดูร้อนของ Antarctica ที่ผ่านมา มีลูกเพนกวินแข็งตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในตอนกลางวันซึ่งอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังไม่มีขนที่สามารถกันน้ำได้เปียกโชก เมื่อกลางคืนมาเยือน อุณหภูมิจะต่ำลงกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้ลูกเพนกวินที่ยังคงเปียกอยู่แข็งตาย
และแน่นอนว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งก็เกิดจากภาวะโลกร้อน (อีกแล้ว)
เพราะฉะนั้นก็ช่วยกันลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกกันด้วยนะค่ะ
"น่าสงสารลูกนกแพนกวินที่น่ารักจังเลยนะค่ะต้องมาตายเพราะโรคร้อนฝ่มือมนุษย์แท้ๆ ช่วยๆๆกันนะค่ะ"



โลกร้อน ทะเลเป็นกรด



โลกร้อน ทะเลเป็นกรด

"สวัสดีค่ะวันนี้เรานำเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลกร้อนมานำเสนออีกแล้วนะค่ะเป็นเรื่องที่น่ากลัว เกี่ยวกับทะเลค่ะถ้าโลกของเราร้อนแล้วทะเลจะเป็นกรดจริงรึเปล่า?"

ในการประชุม European Geosciences Union (EGU) ที่จัดขึ้นในกรุงเวียนนา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการเสนอผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่มีต่อภาวะความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน้ำทะเล
กลุ่มนักวิจัยภายใต้โครงการ European Collaborative Research (EUROCORE) ได้เสนอข้อมูลความเป็นกรดของทะเลที่เพิ่มมากขึ้น 30% นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา จาก pH 8.2 เป็น 8.1 (เป็นกรดมากขึ้น) ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณก๊าซ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมา ซึ่งความเป็นกรดระดับนี้ ไม่เคยมีมาก่อนในช่วง 35 ล้านปีที่ผ่านมา
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานความเสียหายที่เกิดจากระดับความเป็นกรดของน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นนี้ก็ตาม แต่ก็มีความกังวลว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อสาหร่ายทะเล และแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของระบบห่วงโซ่อาหารในทะเล และความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นนี้จะชลอการแข็งตัวของเปลือกของสัตว์ทะเล และปะการังต่าง ๆ ที่อยู่ตามชายฝั่งซึ่งที่สุดแล้ว ก็จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ทั้งในด้านแหล่งอาหาร และภัยธรรมชาติ
มีการคาดการณ์ว่า pH ของน้ำทะเลจะลดลงอีก 0.4 ภายในสิ้นศตวรรษนี้
คณะผู้วิจัยกล่าวว่าหนทางแก้ไขปัญหานี้ สามารถทำได้โดยลดปริมาณ CO2 ที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ



-

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คุณทำร้ายโลก โลกทำร้ายคุณ





สวัสดีค่ะวันนี้กลุ่มของเราได้นำเรื่องราวดีๆๆที่น่าคิดมาให้ทุกคนได้รับรู้กันอีกแล้วนะค่ะ กับหัวข้อ

"คุณทำร้ายโลก โลกทำร้ายคุณ"




โลกร้อน
“ ภาวะโลกร้อน ”
ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ที่เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ “ ภาวะโลกร้อน ” ภาวะโลกร้อนเป็นความปรวนแปรของสภาวะอากาศอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อันเป็นผลจาก
“ ภาวะเรือนกระจก ” มีคำถามกันหรือไม่ว่าภาวะเรือนกระจกเกิดขึ้นได้อย่างไร ภาวะเรือนกระจกเปรียบเทียบได้กับเราสร้างเรือนกระจกไว้กลางแจ้ง แสงแดดส่องผ่านเข้าภายในได้ แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกภายนอกได้ อุณหภูมิจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ โลกของเราก็ไม่ต่างอะไรกับเรือนกระจก
โดยปรกติในชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมโลกไว้ จะมีก๊าซหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ เมื่อรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามายังผิวโลก ก็จะถูกดูดกลืนไว้ด้วยผืนน้ำ พื้นดิน พืช และสัตว์ หลังจากนั้นก็จะคายออกมาเป็นพลังงานในรูปของรังสีคลื่นยาวอินฟาเรด ซึ่งเป็นคลื่นความร้อนกลับขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และบางส่วนก็ถูกกักเก็บไว้โดยก๊าซในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก โลกเราจึงมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในหลายพันปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้น
ห้วงขณะปัจจุบันชั้นบรรยากาศโลกถูกปกคลุมด้วยก๊าซเรือนกระจกซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 53 % ก๊าซมีเทน 17% ก๊าซโอโซนระดับผิวโลก 13 % ก๊าซซีเอฟซี 5 % ก๊าซไนตรัสออกไซด์ 12 % ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติดูดกลืน เก็บกักรังสีอินฟาเรดได้ดี ทำให้สะท้อนออกนอกโลกไม่ได้จึงถูกสะสมในชั้นบรรยากาศ โลกเราจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้ว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือตัวการหลักที่ทำให้โลกร้อน


ลองมาดูกันต่อไปสิค่ะว่าว่าโลกเรามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างมากมายได้อย่างไร


- โรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลก เป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดการใช้เชื้อเพลิงและการใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซนี้ถึง 40 %

- อาคาร สำนักงาน ศูนย์การค้า บ้านพักอาศัย ประมาณ 31 % หมายรวมถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกทุกชนิดล้วนเป็นสาเหตุในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

- การขนส่ง ประมาณ 22 % ทุกวันนี้มนุษย์มีการเดินทางด้วยพาหนะในด้านต่าง ทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ การเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น

- เกษตรกรรม ผลจากการเผาป่าเพื่อการเกษตรกรรม การใช้เชื้อเพลิงเพื่อการเกษตร ทำให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นี้ถึง 4 %

ประเทศที่ติดอันดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลีย ในขณะที่ประเทศไทย คิดเฉพาะในกรุงเทพฯปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศปีละ 172 ล้านตัน หรือคนละ 2.8 ตันต่อปี ซึ่งสูงกว่าประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์เสียอีก

"ช่างเป็นที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งว่าทำไมโลกของเราถึงมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากมายอย่างนี้ ดั้งนั้นกลุ่มของพวกเราก็ขอให้ทุกๆๆคนช่วยกันลดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กันหน่อยนะค่ะโลกเราจะได้สวยงามดังเดิม"

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

"น้ำแข็งขั้วโลก"






นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพร้อมใจร่วมมือ ศึกษาปัญหาโลกร้อน





"เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากเลยนะค่ะสำหรับปัญหาโลกร้อนทั้งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างช่วยกันแก้ไขปัญหาแต่ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำแข็งขั้วโลกเข้าเกี่ยวอีก...ถ้าน้ำแข็งละลายพวกเราจะอยู่ได้อย่างไรน้ำก็คงจะท่วมโลก กลุ่มของเราจึงมีเรื่องที่น่าวิตกเกี่ยวกับปัญหาน้ำแข็งทั่วโลกมานำเสนอค่ะขอให้ผู้ที่เข้ามาชมได้รับความรู้จากบล็อกของเรามากๆนะค่ะ"







นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพร้อมใจร่วมมือ ศึกษาปัญหาโลกร้อน และการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ภายใต้โครงการปีขั้วโลกสากล



มีการประเมินว่าหากน้ำแข็งขั้วโลกทั้งในแถบอาร์คติก และแอนตาร์คติก ละลาย ระดับน้ำทะเลในมหาสมุทรจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 77 เมตร ปัญหาการละลายของน้ำแข็งจึงเป็นปัญหาระดับโลก นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกซึ่งคาดว่ามีจำนวนกว่า 50,000 คนจาก 63 ชาติจะร่วมกันศึกษาผลกระทบของภาวะโลกร้อน ภายใต้โครงการปีขั้วโลกสากล ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนหน้าถึง วันที่ 9 มีนาคม ปี 2552
นักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดจะหารือแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมศึกษาผลการวิจัยกว่า 200 ชิ้น เกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแถบขั้วโลกอย่างละเอียด ซึ่งจะทำให้มองภาพรวมของวิกฤติโลกร้อนได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ในโครงการยังจะมีการศึกษาชีวิตทั้งวัฒนธรรม และการเมือง ของประชากรที่อาศัยอยู่เขตอาร์คติกกว่า 4 ล้านคนด้วย
ขณะนี้การละลายของน้ำแข็งในเขตขั้วโลกมีอัตราเร่งเร็วกว่าที่ผ่านๆ มา ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร นักวิทยาศาสตร์คาดว่าในศตวรรษนี้อุณหภูมิโลกจะร้อนขึ้นประมาณ 1.8 ถึง 4 องศาเซลเซียส ปัญหาหลักๆ มาจากก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์และ จากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิง

















5 วิธีกู้วิกฤติโลกร้อนได้มโหฬาร


"สวัสดีค่ะวันนี้เราจะมานำเสนอ 5 วิธีกู้วิกฤติโลกร้อนได้มโหฬาร เป็นวิธีที่จะช่วยหยุดโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่งถ้าพวกเราช่วยกันคนละไม้คนละมือดิฉันคิดว่าโลกของเราจะกลับมาร่มเย็นไม่มีมลภาวะแย่อย่างนี้อีกแน่ลองอ่านดูนะค่ะน่าจะช่วยหยุดโลกร้อนได้ "



โลกร้อนกระแสสุดอินเทรน์ที่ใครก็พูดถึง แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่าระหว่างการขับรถกับการกินเบอร์เกอร์บิ๊กแมค อะไรก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่ากัน!!?
คำตอบก็คือ “บิ๊กแมค” เพราะจากรายงานของนิตยสารไทม์ ระบุว่าอุตสาหกรรมผลิตเนื้อทั่วโลกก่อให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซกรีนเฮาส์ในชั้นบรรยากาศมากถึง 18%

1. ปิดคอมพ์หรือหน้าจอตอนพักกลางวัน (หรือไม่ได้ใช้) เพราะการเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ ไม่เพียงแต่จะเปลืองไฟ แต่ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การปิดคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ โดยใช้ปุ่มสแตนด์บาย พาวเวอร์ กินไฟในบ้านแบบไม่รู้ตัวถึง 75% การกดปุ่มปิดหรือ Off เท่านั้นที่ไม่กินพลังงาน
2. ปิดไฟทุกครั้งที่เสร็จงาน ออฟฟิศในเมืองใหญ่ๆ ของต่างประเทศ เขาได้ขอความร่วมมือจากพนักงานให้ปิดไฟทุกครั้งที่ทำงานเสร็จ เพื่อนๆ อาจรู้สึกว่าออฟฟิศจะดูมืดๆทึมๆ ไปหรือเปล่า อันนี้คงต้องบอกว่าเราทำเพื่อประหยัดพลังงาน คิดเสียว่าโรแมนติกดีก็แล้วกัน
3. ไม่เอาอะไรมาวางแกะกะใกล้เครื่อง เชื่อหรือไม่ว่า 16% ของพลังงานที่ใช้ภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นตัวการก่อให้เกิดความร้อน ลองหาเวลาว่างจัดบ้านหรือทำงานให้สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ และทิศทางลม แทนที่จะพึ่งแอร์หรือเทคโนโลยีไฮเทคตลอดเวลา แถมยังช่วยเซฟพลังงานได้ถึง 40%
4. จ่ายบิลค่าใช้จ่ายทางเน็ต นับเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทนสมัยแถมประหยัดพลังงาน เพราะไม่ต้องเดินทางให้เปลืองน้ำมัน ลดการใช้กระดาษ (เพราะการผลิตกระดาษต้องตัดไม้ ทำลายป่า) นอกจากนั้นยังยังช่วยลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากการขนส่งกระดาษทั้งทางเครื่องบิน และรถบรรทุก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือช่วยลดปริมาณขยะลงถึงปีละ 1,450 ล้านตัน และจำกัดการแพร่กระจายของก๊าซกรีนเฮาส์อีกปีละ 1.9 ล้านตัน
5. ลดการใช้ถุงพลาสติก ทุกปีมีถุงพลาสติกถูกผลิตออกสู่ตลาดมากกว่า 50,000 ล้านถุง และมีเพียง 3% ของถุงพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ถุงพลาสติกแต่ละใบต้องใช้เวลาถึงพันปีกว่าจะย่อยสลายหมดไปจากโลก!!
10 ปรากฎการณ์ประหลาด ผลกระทบวิกฤต "โลกร้อน!"





ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัย "โลกร้อน" ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ อากาศร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังเป็นต้นเหตุของปรากฎการณ์แปลกๆ มากมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการหายสาบสูญของทะเลสาบ โรคภูมิแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ วิถีโคจรของดาวเทียมในอวกาศ ฯลฯ!
สารภูมิแพ้แพร่ระบาด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดขึ้นทุกๆ ช่วงฤดูใบไม้ผลินั่นคือ ประชาชนไอ จาม ป็นภูมิแพ้ และหอบหืดกันง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปกับสภาพมลพิษในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการดังกล่าวอย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นและมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมากขึ้น คือต้นเหตุทำให้พืชพรรณต่างๆ ผลิใบเร็วกว่าเดิม ขณะเดียวกันปริมาณละอองเกสรที่ฟุ้งกระจายไปตามอากาศก็มากขึ้นเช่นกัน คนที่เป็นภูมิแพ้หรือหอบหืดเมื่อสูดละอองเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาการจึงกำเริบง่าย
สัตว์อพยพไร้ที่อยู่
ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ทำให้สัตว์บางชนิด เช่น กระรอก ตัวชิปมังก์ หรือแม้กระทั่งหนู ต้องอพยพหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงขึ้นสัตว์ที่กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ได้แก่ "หมีขั้วโลก" ที่ในอนาคตอาจมีชีวิตอยู่ในถิ่นฐานเดิมแถบอาร์กติก ขั้วโลกเหนือไม่ได้ เนื่องจากธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว
"พืช"ขั้วโลกคืนชีพ

ช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ผลจากภาวะน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อน ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพืชและสัตว์จำนวนมาก ตามปกติ พืชแถบอาร์กติกจะถูกปกคลุมอยู่ในน้ำแข็งตลอดทั้งปี แต่ปัจจุบัน เมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะในช่วงก่อนฤดูใบไม้ผลิต จึงทำให้พืชที่เคยถูกห่อหุ้มด้วยน้ำแข็งกลายเป็นอิสระ สามารถเริ่มกระบวนการสังเคราะห์แสงและกลับมาเติบโตขึ้นอีกครั้ง
กลายเป็นอีก 1 ปรากฎการณ์ใหม่ของพื้นที่ขั้วโลกเหนือ

ทะเลสาบหายสาบสูญ

เรื่องประหลาดๆ ที่เกิดขึ้นในเขตอาร์กติก หรือ ขั้วโลกเหนือยังไม่หมดแค่นั้นมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา "ทะเลสาบ" ประมาณ 125 แห่งได้หายสาบสูญไปจากเขตอาร์กติก เป็นสัญญาณหนึ่งที่ช่วยให้เห็นว่า ภัยโลกร้อนส่งผลกระทบเร็วมากต่อสภาพแวดล้อมแถบขั้วโลก
สาเหตุที่ทะเลสาบหายไปก็เพราะ "เพอร์มาฟรอส" ที่เป็นน้ำแข็งแข็งตัวอยู่ใต้พื้นทะเลสาบนั้นละลายหมดสิ้นไป ดังนั้น น้ำในทะเลสาบจึงซึมเข้าสู่พื้นดินข้างใต้ได้ เหมือนกับเวลาเราดึงจุกปิดน้ำออกจากอ่างอาบน้ำแล้วน้ำจึงไหลหมดไปจากอ่างนั่นเอง
นอกจากนี้ การที่ทะเลสาบขั้วโลกหายวับไป ยังส่งผลลูกโซ่ปั่นป่วนไปถึงระบบนิเวศในพื้นที่ที่พึ่งพิงน้ำจากทะเลสาบอีกด้วย
น้ำแข็งใต้พื้นโลกละลาย

ภาวะโลกร้อนไม่ได้เพียงแค่ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างต่อเนื่องเท่านั้น
แต่ยังส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งถาวรที่มีอยู่ใต้พื้นผิวโลกค่อยๆ ละลายลดปริมาณลงไปเช่นกัน
ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคตก็คือ จุดใต้พื้นโลก ซึ่งเคยเป็นน้ำแข็งหายไปจนเกิดเป็น "รูรั่ว" ใต้ดินขึ้นมา
เมื่อเป็นเช่นนี้สภาพทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ย่อมเปลี่ยนไป
สิ่งปลูกสร้าง หรือ สิ่งก่อสร้างของมนุษย์ เช่น ทางรถไฟ ถนน บ้านเรือน ฯลฯ ซึ่งตั้งอยู่เหนือจุดดังกล่าวมีโอกาสได้รับความเสียหายตามไปด้วย
ถ้าปรากฎการณ์น้ำแข็งละลายเกิดขึ้นบนที่สูง เช่น ภูเขา จะก่อให้เกิดภัยธรรมชาติตามมา อาทิ หินถล่มและโคลนถล่ม เป็นต้น
ชนวนเกิดไฟป่า
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันทั่วโลก ว่า ภัยโลกร้อนเป็นสาเหตุให้ธารน้ำแข็งละลายและพายุก่อตัวบ่อยและรุนแรงขึ้นกว่าในอดีต
ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะโลกร้อนยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด "ไฟป่า" ได้ง่ายขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
และชาติเมืองหนาวในซีกโลกตะวันตก ซึ่งตามปกติไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไฟป่า ก็เริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้กันแล้ว
เหตุเพราะสภาพป่าแห้งกว่าเดิม จึงเป็นเชื้อไฟอย่างดี

ผู้แข็งแกร่งเท่านั้นถึงอยู่รอด

โลกร้อนส่งผลให้หน้าหนาวหดสั้นลง และหน้าร้อนมาถึงเร็วขึ้น
บรรดา "นกอพยพ" หลายสายพันธุ์ต่างมึนงง ปรับ "นาฬิกาชีวภาพ" ในตัวของมันให้เข้ากับสภาพความผันแปรของฤดูกาลที่บิดเบี้ยวไปไม่ทัน
สัตว์ที่จะเอาชีวิตรอดจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนในทุกวันนี้ได้ต้องเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้น
ในที่สุดสัตว์ที่อยู่รอดจะต้อง "กลายพันธุ์" หรือปรับพันธุกรรมในตัวมันเสียใหม่ เพื่อรับมือภัยโลกร้อนให้ได้ และมีสัตว์หลายชนิดกำลังวิวัฒนาการตัวเองเช่นนั้นอยู่


ดาวเทียมโคจรเร็วกว่าเดิม

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน ยวดยานพาหนะ ฯลฯ คือ ตัวการสำคัญของวิกฤตโลกร้อน
ล่าสุดพบว่า เจ้าก๊าซตัวเดียวกันนี้เองที่ขึ้นไปสะสมมากขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก ได้กลายเป็นต้นเหตุทำให้ "ดาวเทียม" ที่อยู่ในวงโคจรโลกเคลื่อนที่เร็วกว่าเดิม
ตามปกติ อากาศในบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลกจะเบาบาง แต่โมเลกุลของอากาศจะยังคงมีแรงดึงดูดมากพอในการทำให้ดาวเทียมโคจรช้าๆ ดังนั้น เราอาจเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างว่า ผู้ควบคุมต้องจึดระเบิดดาวเทียมเป็นระยะๆ เพื่อให้ดาวเทียมโคจรต่อไปอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ลอยไปสะสมในบรรยากาศชั้นล่างมากไป จะทำแรงดึงดูดของบรรยากาศชั้นนอกสุดลดกำลังลง ดาวเทียมจึงโคจรเร็วกว่าปกติ
ภูเขากระเด้งตัวเหนือพื้นโลก

ภูเขาและเทือกเขาสูงหลายแห่งทั่วโลกกำลังขยายตัว "สูง" ขึ้น เพราะผลจากโลกร้อน!
นั่นเป็นเพราะ ตามธรรมชาติที่ผ่านๆ มานับพันปี ยอดภูเขาในเขตหนาวเย็นโดยทั่วไปจะมี "น้ำแข็ง" ปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตุ้มน้ำหนักที่คอยกดทับให้ฐานล่างของภูเขาทรุดต่ำลงไปใต้พื้นผิว
เมื่อน้ำแข็งบนยอดเขามลายสูญสิ้นไป ส่วนฐานล่างที่เคยถูกกดจมดินลงไปจะค่อยๆ กระเด้งคืนตัวกลับมาเหนือผิวโลกอีกครั้ง


โบราณสถานเสียหาย

โบราณสถาน เมืองเก่าแก่ ซากปรักหักพังทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ อันเป็นสิ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันรุ่งเรื่องของมนุษย์ในอดีตได้รับผลกระทบจากโลกร้อน เหตุเพราะโลกร้อนทำให้อากาศทั่วโลกแปรปรวน ทั้งเกิดพายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และล้วนแต่ยิ่งสร้างความเสียหายให้กับมรดกตกทอดทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมอยู่แล้ว
โบราณสถานอายุ 600 ปีในจังหวัดสุโขทัยของประเทศไทยเรา ก็เคยเสียหายอย่างหนักเพราะภัยน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งเป็นผลจากภัยโลกร้อน มาแล้วเช่นกัน


"เหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการร์ที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งค่ะเพราะปรากฎการณ์โลกร้อนแท้ๆเลยนะค่ะที่ทำให้โลกของเราเป็นแบบนี้น่ากลัวพวกเราต้องช่วยโลกของเรากันแล้วแหละค่ะ"